13 มีนาคม 2565

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม



https://automation-pro.com/smr-smart-mobility-robot/

     SMR(Smart Mobility Robot) คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่ใช้ Sensor และ Processor เพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุได้อย่างอิสระ สามารถจดจำตำแหน่ง และวางแผนเส้นทางแบบ Real-Time ด้วยการใช้ระบบ Advanced Driver – Assistance Systems(ADAS) เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ และโปรแกรม Fleet Management ที่ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานอย่างหลากหลาย

   เราจึงออกแบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติรุ่น SMR300 ภายใต้แนวคิด SEE (Safety, Easy, Economic) ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดพลังงาน สามารถใช้งานได้หลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้การทำงานของคุณมีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และประสิทธิภาพในการผลิตอย่างแท้จริง

2. หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์



     หุ่นยนต์อุตสาหกรรม Articulated Arm ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน

     การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเลียนแบบร่างกายของมนุษย์โดยจะเลียนแบบเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นคือช่วงแขนของมนุษย์ ดังนั้น บางคนอาจจะได้ยินคำว่า “แขนกล” ซึ่งก็หมายถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนมนุษย์ 

     หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม Spot Welding, Path Welding, งานยกของ, งานตัด, งานทากาว, งานที่มีการเคลื่อนที่ยากๆ เช่น งานพ่นสีงาน Sealing เป็นต้น ดังนั้นการเลือกหุ่นยนต์มาใช้งาน ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการให้หุ่นยนต์ทำ สำหรับการทำงานในโรงงาน เพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่อันตราย ควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร เช่น Safety Light Curtains ม่านแสงนิรภัย ติดไว้ในส่วนเครื่องจักรเพื่อไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่เครื่องจักรทำงาน หรือ Safety Interlock Switches สวิตช์สำหรับติดตั้งไว้ที่ประตูเพื่อกันไม่ให้เข้าไปในพื้นที่อันตราย 

3.หุ้นยนต์เก็บกู้ระเบิด


     สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ 

     หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น

     ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป

4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ


https://youtu.be/NpFTVcIFY4A

     มาซาโยชิ ซน ซีอีโอ SoftBank Group เผยระหว่างการประชุมออนไลน์ SoftBank World 2021 ว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น เตรียมทุ่มสรรพกำลังกับหุ่นยนต์เต็มที่ในขณะที่หุ่นยนต์ Pepper กำลังจะโบกมือลา ซนกล่าวว่ากองทุน Vision Fund สำหรับลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของ SoftBank เข้าไปลงทุนในบริษัทที่กำลังพัฒนาเครื่องจักรที่เสริมประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งล้ำกว่าหุ่นยนต์ Pepper ที่สามารถเต้นและทักทายผู้คนได้ “หลายปีก่อนเรามีอีเว้นต์ยิ่งใหญ่เปิดตัว Pepper แต่ตอนนี้มันกำลังอับอาย” ซนกล่าวขณะยืนอยู่หน้าหุ่นยนต์ Pepper ที่ถูกปิดสวิตช์ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา SoftBank ขายหุ้น 80% ของบริษัท Boston Dynamics ที่ผลิตหุ่นยนต์สุนัข Spot ให้กับบริษัท Hyundai Motor Group ของเกาหลีใต้มูลค่า 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ 1 เดือนต่อมา สำนักข่าว Reuters รายงานว่า SoftBank จะยุติการขายหุ่นยนต์ Pepper ภายในสิ้นปี 2023 หลังจากเปิดตัวเมื่อปี 2014 ซนยังกล่าวอีกว่า SoftBank ยังคงร่วมงานกับ Boston Dynamics และหลังจากหุ่นยนต์ Pepper จะตามมาด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะรุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า "smabo" ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมาจากคำว่า "smart" ที่แปลว่าอัจฉริยะ และ "robot" ที่แปลว่าหุ่นยนต์ ซนเผยอีกว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะเหล่านี้จะเข้ามาช่วยปฏิวัติวงการแรงงานคน โดยหุ่นยนต์อัจฉริยะ 1 ตัวสามารถทำงานได้มากกว่ามนุษย์ 10 เท่าต่อวัน ซึ่งในญี่ปุ่นหมายความว่า หุ่นยนต์ 100 ล้านตัวสามารถทำงานได้เท่ากับคน 1,000 ล้านคน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รายชื่อ สมาชิกในชั้นเรียน

  รายชื่อ สมาชิกในชั้นเรียน รายชื่อสมาชิกในชั้นเรียน ลำดับ        ชื่อ-สกุล                                                            ชื่...